Loading...
Loading...
Loading...
เวลาทำการ: วันจันทร์ - ศุกร์ : 17.00 - 19.00น, วันเสาร์ 09.00-13.00น. / วันอาทิตย์ 09.00-17.00

เทคนิคการผ่าตัด กระดูกคอทับเส้นประสาท กระดูกทับเส้นอาการ กระดูกทับเส้นประสาทอาการ ผ่านกล้องแบบแผลเล็

เทคนิคการผ่าตัด กระดูกทับเส้นประสาท

ไม่รู้ไม่ได้! รวมสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนทำการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท

กระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมและไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวด ชา อ่อนแรง บริเวณแขนหรือขา ทั้งนี้การรักษากระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธีด้วยกัน โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ สุขภาพของผู้ป่วย และตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาท
สำหรับการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก เป็นการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด สำหรับในบทความนี้เราจะกล่าวถึงการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก ว่าทำไมจึงเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้อย่างรวดเร็วอย่างไร ติดตามได้เลย

หลักการของการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแผลเล็ก

มาถึงหลักการของการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก อธิบายง่าย ๆ เลยก็คือการใช้กล้องขนาดเล็กและเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กในการเข้าไปผ่าตัดบริเวณที่กระดูกทับเส้นประสาท ส่งผลให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณที่ผ่าตัด และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

สำหรับกล้องขนาดเล็กที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็กหลาย ๆ คนคงจะสงสัยว่ามันคืออะไร โดยตัวกล้องจะมีชื่อว่า กล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) กล้องชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสามารถส่องสว่างได้ดี ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัดได้ชัดเจน ทั้งนี้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก ออกแบบมาให้มีความเหมาะสมกับการผ่าตัดผ่านกล้อง เครื่องมือเหล่านี้มีขนาดที่เล็กและบางกว่าเครื่องมือผ่าตัดทั่วไป จึงช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่ผ่าตัดนั่นเอง

ข้อที่ผู้ป่วยควรรู้ก่อนทำการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก แพทย์จะทำการเจาะแผลเล็ก ๆ บริเวณหลังหรือคอ ประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อสอดกล้องเข้าไปมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัด จากนั้นจึงใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก โดยการผ่าตัดประเภทนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง ชาหรืออ่อนแรงเรื้อรัง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือกายภาพบำบัด หรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น และผู้ป่วยที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดแบบเปิด

ทั้งนี้การผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก โดยทั่วไปแล้วใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกันหรือในวันรุ่งขึ้นได้เลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นอยู่ที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนที่จะกลับมาทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยควรรู้ก่อนทำการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัว ขั้นตอน และวิธีรักษาหลังจากการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเราจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้

  1. การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

    การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก ผู้ป่วยจะต้องเตรียมตัวดังนี้

    • ตรวจร่างกายและตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด โดยแพทย์จะตรวจร่างกายบริเวณที่มีอาการ และตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย รวมไปถึงตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินการทำงานของอวัยวะต่างๆ อีกด้วย
    • หยุดทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาแก้อักเสบชนิดสเตียรอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยจะต้องหยุดทานยาเหล่านี้ก่อนการผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์
    • เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดตามคำแนะนำของแพท เช่น งดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัด เตรียมเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวสำหรับหลังการผ่าตัด เป็นต้น

    ทั้งหมดคือการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก ฉะนั้นแล้วผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ทั้งหมด รวมถึงประวัติการแพ้ยา ประวัติการใช้ยา และประวัติโรคประจำตัวต่างๆ รวมถึงความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งของอาการ และปัจจัยที่กระตุ้นอาการ ที่สำคัญต้องทำการแนะนนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะการงดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัด และก่อนผ่าตัดผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

  2. ขั้นตอนการผ่าตัด

    สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก โดยทั่วไปแล้วมีดังต่อไปนี้

    • การให้ยาสลบ ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท ยาสลบที่ใช้อาจเป็นยาสลบทั่วไปหรือยาสลบเฉพาะที่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
    • เจาะแผล แพทย์จะทำการเจาะแผลเล็กๆ บริเวณหลังหรือคอ ประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อสอดกล้องเข้าไปมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัด
    • การสอดกล้อง แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัด กล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) ที่ใช้มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทได้ชัดเจน
    • การใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก แพทย์จะใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก เครื่องมือผ่าตัดเหล่านี้มีขนาดที่เล็กและบางกว่าเครื่องมือผ่าตัดทั่วไป จึงช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณที่ผ่าตัด
    • การเย็บปิดแผล แพทย์จะเย็บปิดแผลด้วยไหมละลายขนาดเล็ก แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลเรื่องรอยแผลเป็น

    หลัก ๆ แล้วจะมีแค่ 5 ขั้นตอนที่กล่าวเท่านั้น หากแต่เพียงจะพบเจออาการที่รุนแรงก็อาจจะมีขั้นตอนเฉพาะแพทย์ที่อาจเพิ่มเข้ามา

  3. การดูแลหลังการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท

    หลังการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท คุณควรที่จะดูแลตัวเองให้ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ๆ เราเลยแบ่งช่วงเวลามา 3 ช่วงเวลาดังนี้

    ขณะอยู่โรงพยาบาล

    • ผู้ป่วยไม่ควรแกะแผล และระวังอย่าให้แผลเปียกน้ำโดยเด็ดขาด
    • หากมีอาการปวด แสบร้อนตามขา หรือมีเลือดซึมออกจากแผล ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบโดยทันที
    • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนตะแคงหรือนอนหงายนาน ๆ ควรนอนคว่ำหรือนอนข้างที่ผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท
    • ลุกเดินได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดวันแรกๆ แต่ควรเดินช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มระยะทางขึ้น
    • รับประทานอาหารอ่อนๆ และดื่มน้ำมากๆ
    • ทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

    เมื่อกลับบ้าน

    • แม้แผลผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทจะเริ่มดีขึ้น แต่ผู้ป่วยยังต้องระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ และห้ามฟอกสบู่หรือทาครีมบริเวณแผลผ่าตัด
    • ไม่ควรนอนหนุนหมอนสูง
    • เน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ดื่มน้ำมากๆ
    • ทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างต่อเนื่อง
    • หากแผลผ่าตัดมีอาการบวมแดง มีเลือดหรือหนองไหล ให้รีบเดินทางมาพบแพทย์ในทันที

    ในช่วง 3 เดือนแรกหลังการผ่าตัด

    • ควรเปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ ด้วยความระมัดระวัง
    • ไม่ควรยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
    • ควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ เพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
    • หากมีอาการปวดหลังหรือปวดขาและบริเวณตรงที่ผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาท ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

นอกจากนี้แล้วในช่วงเวลาที่แผลการผ่าตัดกระดูกทับเส้นประสาทยังไม่หายดี ควรงดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดหายช้าลง และควรลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักตัวมาก เพราะอาจเพิ่มแรงกดทับต่อกระดูกสันหลัง รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานานๆ ควรลุกขึ้นยืนหรือเดินบ้างเป็นระยะๆ

 

สุดท้ายแล้วหากคุณคือหนึ่งในคนที่ในปวดกระดูกทับเส้นประสาทตลอดมา Premium Spine พร้อมให้คำปรึกษา เรามีแนวทางว่าที่ว่า

“คืนความสดชื่น สู่ชีวิตที่ไร้ความปวดให้คุณ"

 

Premium Spine Center of Endoscopic Spine Surgery
ศูนย์ส่องกล้องกระดูกสันหลังหมอโชคอนันต์

ศูนย์ที่ตรวจรักษาและผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปจากผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกอักเสบ กระดูกคอทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือ มีอาการชาที่แขน, ขา, ปวดเอว, ปวดหลัง, คอ, หัวไหล่ นอกจากนี้ยังตรวจรักษาโรคกระดูกและข้อ โดยทุกขั้นตอนในการดูแลรักษาจะได้รับการดูแลจากคุณหมอโชคอนันต์ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์กระดูกสันหลังที่มีความเชี่ยวชาญในการส่องกล้องกระดูกสันหลังเพื่อทำการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ โดยคุณหมอโชคอนันต์ได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นการรับรองถึงความเชี่ยวชาญและชำนาญในการผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ เช่น วุฒิบัตรการผ่าตัดกระดูกสันหลังแพทย์สภายุโรป, วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลังโรงพยาบาลวิถี เป็นต้น นอกจากความชำนาญและความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดกระดูกสันหลังแล้วศูนย์ส่องกล้องกระดูกสันหลังหมอโชคอนันต์ยังใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการผ่าตัด จึงมีความแม่นยำสูง มีความเสี่ยงต่ำ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วมากยิ่งขึ้น

หากมีความต้องการรักษาหรือต้องการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง ติดต่อ Premium Spine ศูนย์ส่องกล้องกระดูกสันหลังหมอโชคอนันต์

ส่องกล้องกระดูกสันหลัง ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผ่าตัดกระดูกสันหลัง กระดูกคอทับเส้นประสาท กระดูกทับเส้นประสาทอาการ กระดูกทับเส้นอาการ อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการกระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม วิธีรักษา โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกอักเสบ

Website : https://premiumspine.com
Facebook : https://www.facebook.com/EndoscopeSpineSurgery
โทร: 089 468 5231, 081 099 9700, 089 468 5231
อีเมล์: allanorthopeadist@gmail.com
Line ID:  @602cvchw


เวลาทำการวันจันทร์-พฤหัส 17:00-19:00 น.  (หยุดทุกวันศุกร์)
วันเสาร์: 09.00 - 12.00 น.
วันอาทิตย์: 09.00 - 16.00 น.

เวลาทำการ

วันจันทร์: 17.00 - 19:00
วันอังคาร: 17.00 - 19:00
วันพุธ: 17.00 - 19:00
วันพฤหัสบดี: 17.00 - 19:00
วันศุกร์: 17.00 - 19:00
วันเสาร์: 09.00 - 13.00
วันอาทิตย์: 09.00 - 17.00

GOOGLE MAP

Facebook Fanpage

Contact Us

คลินิกหมอโชคอนันต์ ศูนย์ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง

089 468 5231,081 099 9700, 089 468 5231

allanorthopeadist@gmail.com

@602cvchw

184/3ถนนรัถการเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ 90110